ดร.เสาวณี จันทะพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
เสนอแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและความเสี่ยงปี 2023 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนข้างหน้า เศรษฐกิจไทยปี 2023 ฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงส่งด้านท่องเที่ยว แต่เริ่มเห็นสัญญาณความเปราะบางด้าน การส่งออกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก เศรษฐกิจไทยปี 2022 ธปท. คาดว่าจะขยายตัว 3.2% เพิ่มขึ้นจาก 1.5% ในปี 2021 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.3% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3.3% ของ GDP ส าหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2023 ธปท. คาดว่าจะ ขยายตัว 3.7% สอดคล้องกับสภาพัฒน์ฯ (3.0% – 4.0%) สภาหอการค้าไทย (3.5%-4.0%) และ IMF (3.7%) แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ASEAN-5 ที่โต 4.9% ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ภาคส่งออกสินค้ายังเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในภาวะที่แรง ขับเคลื่อนจากด้านท่องเที่ยวหยุดชะงัก หลังโควิด-19 คลี่คลายคาดว่าสถานการณ์ภาคท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ช่วยเป็นอีกแรงหนุนเศรษฐกิจได้อีกครั้ง แต่จ านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 โดย ในปี 2022 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่กว่า 10 ล้านคนตามเป้าหมาย และในปี 2023 ททท. ประมาณ การว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 11-30 ล้านคน โดยกรณีปีฐานอยู่ที่ 18 ล้านคน โดยหากไม่มีความ ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น
คาดว่าในปี 2023 รายได้จากการท่องเที่ยวจะกลับมาเป็นแรงเสริมกับ ภาคส่งออกเหมือนเช่นในอดีต อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่น่ากังวลต่อทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2023 หากเจาะลึกข้อมูลล่าสุดภาวะ การค้าระหว่างประเทศของไทย 10 เดือนปี 2022 พบว่ามีมูลค่า 243.1 Bil USD ขยายตัว 9.1% เทียบกับปีก่อน หน้า (%YoY) ในมิติของตลาดส่งออกในคู่ค้าส าคัญจะเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวในตลาดสหภาพยุโรป (สัดส่วน ตลาด 7.9%) ไม่โตในตลาดญี่ปุ่น (8.6%) และเริ่มหดตัวในตลาดจีน (12%) ตามล าดับ (รูป F.1) เมื่อวิเคราะห์ใน 2/3 ประเภทสินค้าพบว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งเป็นสินค้าจ าเป็นต่อการด ารงชีวิตและเป็นปัจจัย การผลิตส าคัญยังไปได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เช่น ข้าว เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์แปรรูปแช่แข็ง และอาหารทะเล กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
แต่สินค้าส่งออกกลุ่มสินค้า คงทนเริ่มเห็นสัญญาณหดตัวบ้างในหมวดสินค้ารถยนต์ และชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นผลจากการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อสูงโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ขาขึ้น ที่ส่งผลต่อรายได้และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง โดยล่าสุด ธปท. และสภาพัฒน์ฯ คาดว่ามูลค่าการ ส่งออกของไทยปี 2023 จะโต 1% จากปี 2022 อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนประเมินว่าความสามารถในการส่งออก ของไทยพิจารณาจากมูลค่ายังมีระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ที่เฉลี่ยประมาณ 220 Bil USD (2015-2019) มองไปข้างหน้า จากผลส ารวจ JCER/Nikkei Consensus Survey
ล่าสุด ณ ก.ย. 2022 ระบุว่าความ เสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 12 เดือนข้างหน้าอันดับ 1 คือ การชะลอตัวของจีน ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่ในระดับน่า กังวลด้วย Score = 75 จากสูงสุด =100 รองลงมาคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (60) และปัญหา เงินเฟ้อ (50) ซึ่งหล่นลงไปอยู่อันดับ 3 จากเคยอยู่อันดับ 1 ในคราวการส ารวจเมื่อ มิ.ย. 2022 (รูป F.2) การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ตลาดการเงินโลกที่ผันผวน ส่งสัญญาณ ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้นตามการกลับสู่นโยบายการเงินแบบปกติ (Monetary policy normalisation) และมูลค่าของเงินดอลลาร์ (ดูจาก WSJ dollar index) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อให้เกิด ความกังวลจากหลายฝ่ายว่าจะเกิดความผันผวนในสกุลเงิน ตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศตลาด เกิดใหม่ (EMs) เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในคราวการยุตินโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE Tapering) ในปี 2013 มุมมองของนักวิเคราะห์เห็นว่า สถานการณ์แวดล้อมครั้งนี้แตกต่างจาก QE tapering-2013 โดยกลุ่ม EMs มีความเสี่ยงเพิ่มเติมจาก (1) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงอาหารสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อ อัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก (2) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่มีทีท่าจะยืดเยื้อ และ (3) เฟด ECB และธนาคารกลางรายใหญ่อื่น ๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่รวดเร็วและแรงมากกว่ารอบ QE tapering-2013 ส่งผลให้สกุลเงินของ EMs ส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และเริ่มเห็นการ ลงทุนในหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (FPT) เริ่มไหลออกจากกลุ่ม EMs สะท้อนจากดัชนี MSCI emerging markets ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง
สอดคล้องกับมุมมองของสถาบัน IIF (8 พ.ย. 22) ที่ชี้ว่าความต้องการซื้อพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่น ของกลุ่มประเทศ EMs มีแนวโน้มลดลง (Weaker outlook) เพื่อไปลงทุนในแหล่งอื่น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตรา 3/3 ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2022 (รูป F.3) และ (4) การใช้จ่าย ฉุกเฉินและกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 ในระดับสูง ท าให้บางประเทศ EMs ประสบปัญหาหนี้สินและ การขาดดุลงบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศก็จะท าให้การกู้ยืมมี ต้นทุนสูงขึ้น ในกรณีของไทย ผู้เขียนประเมินว่าความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตการเงินมีจำกัด
เนื่องจากตลาดการเงิน ไทยมีความยืดหยุ่นในการรับแรงกระแทกจากความผันผวนได้ดีระดับหนึ่ง จากความมั่นคงทางการเงินที่ได้ บทเรียนจากวิกฤตการเงิน 1997 การพัฒนาและใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่น รวมถึงมีเงินส ารองระหว่าง ประเทศในระดับสูงอยู่ที่ 228.2 Bil USD หรือคิดเป็น 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และ 8 เดือนของมูลค่าน าเข้าสินค้า และบริการ ในท้ายนี้ จากความเสี่ยงทั้งด้านการค้าและการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในปี 2023 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ผู้เขียนหวังว่าทุกภาคส่วนจะช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง โดย “ผู้ส่งออก” ควรเพิ่มผลิตภาพ ผลิตสินค้าที่ตรง ตามความต้องการตลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุน หาตลาดใหม่ๆ และการใช้เครื่องมือประกันความ เสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน “นักลงทุน” ควรกระจายความเสี่ยงการลงทุนทั้งมิติประเภทอุตสาหกรรม ประเภท สินทรัพย์ และประเทศที่ไปลงทุน “แรงงาน” ควรพัฒนาทักษะ มีการศึกษาและมีสุขภาพดี เพื่อให้มีงานและรายได้ สูงขึ้น และมีระบบประกันสังคมคุ้มครอง และเชื่อแน่ว่าเราทุกคนจะรอดจากความไม่แน่นอนในปี 2023 ไปได้ด้วยกันนะวิ! ————————————-
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง: Gita Gopinath, Pierre-Olivier Gourinchas (2022), How Countries Should Respond to the Strong Dollar, IMF blog (Exchange rate), 14 Oct 2022 Jonathan Fortun (2022), IIF Capital Flows Tracker – October 2022 Zig Zagging, 8 Nov 2022 Patricia Buckley and Akrur Barua (2022), Does Monetary Tightening in Advanced Economies Spell Trouble for Emerging Markets?, Deloitte Insight, 11 Nov 2022 Rurika Imahashi (2022), ASEAN Economies Seen Hit by U.S. Rate Hikes in 2023: JCER/Nikkei, Nikkei, 3 Oct 2022 กระทรวงพาณิชย์ (2022), แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนตุลาคม และ 10 เดือนของปี 2022, 28 พ.ย. 2022 ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022), ททท.ดันท่องเที่ยวปี 66 ท็อป 5 โลก ดึงทัวริสต์ 30 ล้านคน ปั๊มรายได้ 2.38 ล้านล้าน, 3 พ.ย. 2022 ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2022), ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2022, 21 พ.ย. 2022 ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2022), NESDC Economic Report ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2022 และแนวโน้มปี 2022-2023, 21 พ.ย. 2022