ปลดล็อกการท่องเที่ยวให้ปัง เติมพลังเศรษฐกิจไทย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่บรรเทาลง ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวทั่วโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง หลายประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการกลับสู่ภาวะปกติ พร้อมใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดที่กำลังเปลี่ยน ผ่านเป็นเพียงโรคประจำถิ่น รวมถึงไทยที่กลับมาเปิดประเทศเต็มรูปแบบเมื่อ ก.ค. 65 ส่งผลให้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้น

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่บรรเทาลง ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวทั่วโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง หลายประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการกลับสู่ภาวะปกติ พร้อมใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดที่กำลังเปลี่ยน ผ่านเป็นเพียงโรคประจำถิ่น รวมถึงไทยที่กลับมาเปิดประเทศเต็มรูปแบบเมื่อ ก.ค. 65 ส่งผลให้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้น และเพิ่งได้ฉลองตัวเลขนักท่องเที่ยวเข้าไทยครบ 10 ล้านคนไปเมื่อ 10 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2566 โดยแบงก์ชาติคาด ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีหน้าจะอยู่ที่ 22 ล้านคน หรือคิดเป็น 55% ของก่อนโควิด ซึ่งจะเป็นแรง ส่งสำคัญของเศรษฐกิจในระยะต่อไป จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงการสำรวจความเชื่อมั่น ผู้ประกอบการที่พักแรมที่แบงก์ชาติทำร่วมกับสมาคมโรงแรมไทย พบว่า อัตราการเข้าพักของโรงแรม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ณ พ.ย. 65 อยู่ที่ 59% เทียบกับระดับ 60-70% ในช่วงก่อนโควิด ตามจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่ม Short haul จากอินเดีย ตะวันออกกลาง และ อาเซียน

ขณะที่ Long haul จากยุโรป และอเมริกาเริ่มทยอยเข้ามาบางส่วน สำหรับการท่องเที่ยวใน ประเทศ แม้จำนวนนักท่องเที่ยวไทยเริ่มแผ่วลงบ้างหลังจากโครงการเราเที่ยวด้วยกันสิ้นสุดลง และกลุ่มที่มี กำลังซื้อเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น แต่ภาคเอกชนยังมีความหวังกับโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ที่คาดว่าจะสามารถใช้สิทธิได้ในช่วงต้นปี 2566 อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมการท่องเที่ยวดูเหมือนจะอยู่ ในทิศทางฟื้นตัว แต่ยังมีอุปสรรคอีกมากที่ต้องรอการปลดล็อก ดังนี้ (1) การฟื้นตัวที่ยังไม่ทั่วถึง สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มจังหวัด ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี และภูเก็ต และกลุ่มโรงแรม 4-5 ดาวขึ้นไป ส่งผลให้รายได้ฟื้นตัว เร็วกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่รายได้ของโรงแรมขนาดเล็กยังฟื้นตัวช้า เนื่องจากเผชิญการแข่งขันด้านราคาใน ระดับสูง และกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลาง-ล่างระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ดี โรงแรมขนาดเล็ก ได้รับอานิสงส์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มากขึ้น บางส่วนที่เคยปิดกิจการชั่วคราวทยอยกลับมา เปิดให้บริการ (2) การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวยังต่ำกว่าก่อนโควิด

เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้า มายังคงเป็นกลุ่ม Short haul มากกว่า Long haul ส่งผลให้จำนวนวันเข้าพักเฉลี่ยและภาพรวมค่าใช้จ่าย ต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติยังน้อยกว่าช่วงก่อนโควิด ทำให้รายได้ของธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่ กลับมาสู่ระดับเดิม (3) ปัญหาคอขวดด้านจำนวนเครื่องบินที่มีจำกัด

เนื่องจาก (1) เครื่องบินที่หยุดบินนานต้องได้รับ การซ่อมบำรุง แต่ไทยมีศูนย์ซ่อมเพียงแห่งเดียว ประกอบกับปัญหาการขาดอะไหล่ ทำให้ใช้ระยะเวลาใน การซ่อมบำรุงนานกว่าปกติ (2) ปัญหาด้านสถานะทางการเงินของธุรกิจสายการบินที่บอบช้ำมานานส่งผลต่อความสามารถในการเพิ่มจำนวนเครื่องบิน เพราะการเช่าซื้อต้องใช้เงินมัดจำสูง และ (3) ไทยยังไม่ กลับมาเป็นศูนย์กลางของการบิน Interconnectivity hub ทำให้จำนวนเที่ยวบินที่เข้ามาไทยยังมีจำกัด (4) ต้นทุนการประกอบธุรกิจสูงขึ้นมาก ทั้งจากราคาวัตถุดิบอาหาร ค่าสาธารณูปโภค รวมถึง ค่าจ้างแรงงาน โดยผลสำรวจธุรกิจโรงแรมพบว่า 71% ของผู้ตอบเห็นว่าค่า FT และค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นราว 5-15% ของต้นทุนเดิม นอกจากนี้ ปัญหาขาดแคลนแรงงานจากพนักงาน เดิมไม่กลับมา โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็ก เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานมักเลือกไปทำงานใน Chain โรงแรมขนาดใหญ่ที่ได้ Service charge สูงกว่า และ Skill mismatch ของแรงงาน ยังเป็นปัจจัย กดดันเพิ่มเติมให้ต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจต้องขึ้นค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงาน

ทั้งนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่า ปัญหาขาดแคลนแรงงานนี้จะทยอยคลี่คลาย หากปลดล็อกอุปสรรคดังกล่าวได้รวดเร็วขึ้น ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะกลับมาเดินเครื่อง ได้เต็มที่ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน เช่น การจัด Event ต่าง ๆ เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวและเที่ยวบินจากต่างประเทศให้มายังไทยมากขึ้น จะช่วยปลดล็อกปัญหาคอขวดได้ส่วนหนึ่ง การสนับสนุนการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจะช่วยให้การฟื้นตัวมีความทั่วถึงมากขึ้น มาตรการช่วยเหลือ ด้านต้นทุน ขยายเวลาพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย จัดหาแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่าย และจัดอบรมพนักงาน บริการ จะช่วยลดต้นทุนของภาคการท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ การปลดล็อกด้านคุณภาพยังคงเป็นสิ่ง สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยภาครัฐควรปรับปรุงทัศนียภาพ ความปลอดภัย และภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ควบคู่ไปด้วย เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งไทยและต่างชาติที่ไม่ใช่เพียงทัวร์ศูนย์เหรียญเช่นใน อดีต ขณะที่ภาคเอกชนควรเร่งปรับตัวให้เท่าทันพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทโลก ใหม่ (New normal) ทั้งกระแสดิจิทัล และ ESG (Environmental, Social, Governance) เพื่อคว้า โอกาสและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยกลับมาปัง เร่ง เครื่องเดินหน้าได้เต็มกำลัง เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยที่สามารถฝากความหวังไว้ได้ ในช่วงเวลาที่เครื่องยนต์อื่นมีความไม่แน่นอนสูง ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ และการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่สังกัด

ดร. กิ่งกาญจน์ เกษศิริ
ชุติกา เกียรติเรืองไกร

ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้อง

เราทำงานร่วมกับทีมผู้นำที่มีความทะเยอทะยานที่ต้องการกำหนดอนาคต ไม่ใช่ซ่อนตัวจากอนาคต เราบรรลุผลลัพธ์ที่ไม่ธรรมดาร่วมกัน